ขอให้สมาชิกพัฒนาบล็อกประจำวิชาต่อไปนะครับ มีปัญหาโทร0819690238

รู้จัก socialmedia

Social Network คืออะไร

                  Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก

............... การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ    พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย

............... Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน             
   
 
 
             Social Network คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเทศที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
 

 
        สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น Hi5 หรือว่า Facebook ซึ่ง เรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
        เมื่อ หันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอ โดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูปภาพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้่

 

 

การนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็น ยุค 2.0 ที่ครูต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูล(Content) จากข้อมูลที่คงที่ (Static Content) เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Content) แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกัน ในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการผลักดันให้ครูก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อะไรคือ Social Media
คุณครูรู้จัก Social Media หรือไม่??? จริงๆ แล้วทุกคนน่าจะรู้จัก และใช้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่เคยรู้ว่ามันเรียกว่า Social Media หรือแม้ลองถามนักเรียนว่ารู้จักหรือเปล่า นักเรียนก็คงบอกว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามว่ารู้จักเว็บไซต์เหล่านี้หรือไม่ เช่น Hi5, Facebook, Twitter, YouTube ร้อยทั้งร้อยคงบอกว่ารู้จัก แถมบางคนอาจจะบอกว่ามี และเล่นแทบทุกวัน สิ่งเหล่านี้แหละครับคือ Social Media ซึ่งบางครั้งเรามองว่า มันเหมือนไม่มีประโยชน์ นักเรียนหรือครูเล่นก็เหมือนเสพติด เสียเวลาเรียน เวลาทำงาน แต่ของทุกอย่างมีทั้งด้านดี และไม่ดี ถ้าเรามองเห็น และนำด้านดีนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็น่าจะเป็นเรืองดีที่ของที่เหมือนเล่นๆ ไม่เป็นประโยชน์จะช่วยให้นักเรียนของเราเกิดการเรียนรู้ได้ แม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ยังไม่มีศัพท์บัญญัติทีใช้ แทนคำว่า Social Media ในภาษา ไทย แต่มีการแปลอย่างตรงไปตรงมาว่า “สื่อสังคม” เป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ทับศัพท์ Social Media เป็นส่วนใหญ่
สื่อสังคม หรือ Social Media
เป็นสื่อที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม เน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน โดยอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึง ซึ่งปัจจุบันมีใช้มากขึ้น คือเด็กๆ ของพวกเรา เอง ดังนั้นเราน่าจะให้เด็กของเราเข้าใช้ให้เกิดประโยชน์ หาหนทางทำให้สื่อสังคมนี้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนอย่างเราๆ ต้องเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคม นอกจากนี้สื่อสังคมยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทุกคนสามารถมีปากเสียงได้ บนโลกออนไลน์
Social Media มีเครื่องมืออะไรบ้าง
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เครื่องมือของสื่อสังคม (Social Media Tools) มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ซึ่งเครื่องมือส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้แบ่งปัน (Share) องค์ความรู้ ความคิดเห็น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างสื่อขึ้นมาใหม่ เพราะมันมีอยู่ในบนโลกออนไลน์ เพียงแค่เรานำสิ่งที่มีอยู่แล้วนี้มาใช้ เมื่อเราค้นข้อมูลไปเรื่อยๆ ณ จุดหนึ่งจะพบว่า เรื่องบางเรืองไม่มีใครรู้ดีกว่าเราอีกแล้ว นั่นแหละถึงเวลาที่ต้อง Share ข้อมูลนั่นเสีย
มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ ใช้ Share ข้อมูลได้…
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการอบรมครูเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามโครงการนำร่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการ เรียนรู้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน 2553 โดยมีครูเข้าร่วมอบรมจำนวน 200 คน จากทั่วประเทศ ซึ่ง สทร. ได้เสนอเครื่องมือของสื่อสังคมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
- WordPress.com เป็นเว็บล็อก หรือบล็อก สร้างเป็นบล็อกกลางสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสาร
- Facebook.com ทำหน้าที่เป็นกระดานข่าว คล้ายๆ กับ hi5 ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่นี่เช่นกัน
- Twitter.com ใช้ในการสื่อสารข้อความสันๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ทำหน้าที่คล้าย SMS สามารถ โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
- Slideshare.net ใช้ในการแบ่งบันสไลด์ ในกรณีทีคุณครูสร้างสไลด์เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสามารถนำไปฝากไว้ แล้วให้นักเรียนไปดาวน์โหลดมาชมหลังจากเรียนเสร็จแล้วก็ได้
- Flickr.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์ภาพ
- Scribd.com ใช้ในการแบ่งปันไฟล์เอกสาร เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึก
- youtube.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์วีดีทัศน์ คุณครูสามารถเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม
จะนำ Social Media ไปใช้อย่างไร
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายในการใช้งาน คุณครูสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่มีรูปแบบในการจัดกิจกรรมที่ตายตัว เลือกใช้ทุกเครื่องมือ หรือบางเครื่องมือก็ได้ในการจัดการเรียนรู้ อาจเข้าไปดูในเว็บไซต์กลางของ Social Media
ที่ สทร. สร้างไว้ที่ http://smeducation.wordpress.com/
ที่นี่จะเป็นที่รวบผลงานของครูแกนนำที่สร้างไว้ นอกจากนี้อาจจะเข้าไปชมผลงานของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Social Media ในการยกระดับการเรียน สทร. ไม่ได้กำหนดรูปแบบในการนำ Social Media ไปใช้ ให้ครูเป็นผู้ลองด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เขียนเสนอแนวคิดในการนำ Social Media ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้ในฐานะแหล่งเรียนรู้ โดยครูอาจจะต้องเป็นนักสำรวจเลือกสื่อที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ของนักเรียน แล้วนำไปรวบรวมไว้ที่บล็อกกลางของครู และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบที่ FaceBook ก็ได้ จากนั้นให้นักเรียนเข้าศึกษาด้วยตนเอง
2. ใช้ในฐานะสื่อการสอน โดยครูเลือกสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการสอนโดยอาศัยสื่อเหล่านั้นประกอบ ตามความเหมาะสมของธรรมชาติวิชา
3. ใช้ในการสื่อสารกับนักเรียน อาจใช้เป็นช่องทางในการรับทราบปัญหาของนักเรียน เมื่อนักเรียนมีปัญหาอาจจะมาทิ้งข้อความไว้ ครูก็เข้าไปตอบปัญหาเหล่านั้นได้
4. ใช้เป็นช่องทางในการมอบหมายงานและส่งงาน
5. ใช้เป็นแหล่งพักสมองโดยได้ความรู้ เกมบางชนิดสร้างปัญญา แต่ต้องเลือกให้ดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://kasmos52.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น